วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559
Root โดยใช้ Kingroot
Root with Kingroot
วันนี้เราจะมาสอนวิธีรูท android โดยใช้แอป kingroot นะครับ
แอปนี้อาจช่วยคนที่ใช้แอปรูทตัวอื่นไม่ได้นะครับ
แอปนี้เป็นแบบ one click นะครับก้คือกดครั้งเดียวแล้วรอก็เสร็จ
ขั้นแรกก็ไปโหลดมาเลย--> Kingroot
พอโหลดเสร็จแล้วก็ติดตั้งเลยครับ
ต่อมาก็เข้าแอปไปเลยครับ
พอเข้ามาก็จะได้ประมาณนี้นะครับ มันจะบอกว่าเครื่องคุณยังไม่รูทให้กดตรงรูปนั้้นเลยครับ
พอกดเสร็จคราวนี้ก็ต้องรอครับภาวนารอ
ใครสำเร็จก็จะได้รูปแบบเนี่ยครับ
พอรูทเสร็จแล้วก็จะได้แอปนี้มานะครับ มันเป็นตัวจัดการรูทน่ะครับ
พอรูทเสร็จแนะนำให้ restart เครื่องนะครับ
เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับการรูทของเรา
แต่สำหรับบางเครื่องก้ทำไม่ได้นะครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการรูทนะคับ
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
วิธีเพิ่มประสิทธิภาพ Android 12 ประการ
ขอขอบคุณกระปุกดอทคอม
เชื่อว่าใครหลายคนที่ใช้แอนดรอยด์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว อาจพบว่าตัวเครื่องนั้นทำงานช้าลง หรืออาจกินแบตเตอรี่มากกว่าตอนที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เราดาวน์โหลดแอพฯ มาลงเครื่องมากขึ้น หรือเปิดแอพฯ ให้ทำงานทิ้งไว้หลาย ๆ แอพฯ รวมทั้งสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมาย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอนดรอยด์ให้ไหลลื่นขึ้นกว่าเดิมมาแนะนำทั้ง 10 ข้อด้วยกันครับ (ภาพประกอบเป็นของสมาร์ทโฟน Sony Xperia)
1. ทำความรู้จักอุปกรณ์ของเราก่อน
อย่างแรกที่ควรทำเลยก็คือทำความรู้จักกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ของเรากันก่อน ว่ามีสเปคและคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งควรเลือกใช้แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมกับสเปคของเครื่อง เพื่อไม่ให้แอพฯ นั้นกินทรัพยากรเครื่องมากเกินไปนั่นเอง
2. อัพเดทแอนดรอยด์เป็นเวอร์ชั่นใหม่สุดเสมอ
แอนดรอยด์ได้มีการพัฒนาและอัพเดทอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนี้เราจึงควรอัพเดทให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดอยู่เสมอ ๆ เนื่องจากแอนดรอยด์ที่ถูกพัฒนาเป็นเวอร์ชั่นใหม่ ๆ นั้นได้มีการปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
3. ลบแอพฯ ที่ไม่ได้ใช้งานออก
ทุก ๆ แอพฯ ที่เราได้ลงไว้จะใช้พื้นที่หน่วยความจำในเครื่อง และอาจกินทรัพยากรเครื่องด้วยหากแอพฯ นั้นเปิดทำงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เครื่องมีอาการอืดและทำงานช้าลง เราจึงควรเลือกลบ (Uninstall) แอพฯ ที่ไม่ได้ใช้งานหรือไม่จำเป็นออกไป และเลือกลงเฉพาะแอพฯ ที่ต้องใช้งานจริง ๆ เท่านั้น
4. ปิดการทำงานแอพฯ ที่ไม่จำเป็น
ด้วยฟีเจอร์ Performance assistant ที่เพิ่มเข้ามาในแอนดรอยด์ 4.0 ICS นี้ สามารถให้คุณเลือกปิดการทำงาน (Disable) แอพฯ ที่คุณไม่ได้ใช้งานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ต่างกับการลบแอพฯ ออกจากเครื่องตรงที่ตัวแอพฯ ยังคงอยู่ในเครื่องเหมือนเดิม เพียงแค่ไม่แสดงในหน้า Home Screen หรือเมนูเลือกแอพฯ เท่านั้น ซึ่งสามารถเปิดให้ทำงานใหม่ได้เมื่อต้องการกลับมาใช้งานแอพฯ นั้น ๆ
5. อัพเดทแอพฯ อย่างสม่ำเสมอ
ทุก ๆ แอพฯ ที่ดาวน์โหลดจาก Google Play มักมีการอัพเดทจากผู้พัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งเราควรอัพเดทแอพฯ ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่สุดอยู่เสมอ ๆ เนื่องจากผู้พัฒนาจะปรับปรุงและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของแอพฯ ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีขึ้น และอาจทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมด้วย
6. เลือกใช้การ์ดหน่วยความจำความเร็วสูง
ถึงแม้สมาร์ทโฟนจะมีหน่วยความจำในตัวเครื่องอยู่แล้ว แต่เมื่อเราใช้งานไปจนเหลือพื้นที่น้อยลง อาจส่งผลให้เครื่องทำงานช้าลงได้ ซึ่งการใส่การ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) เพิ่มนั้นย่อมช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะการมีเนื้อที่หน่วยความจำว่างมากขึ้น จะช่วยให้ระบบสามารถทำงานได้เร็วขึ้นไม่มากก็น้อย โดยให้เลือกการ์ดหน่วยความจำที่มีคุณภาพดีและความเร็วสูง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการใช้งานที่มากขึ้น
7. ใช้ Widget ให้น้อยลง
Widget ที่เป็นลูกเล่นต่าง ๆ เอาไว้วางบนหน้าจอ Home Screen นั้นจะทำงานตลอดเวลา ต่างกับแอพพลิเคชั่นทั่วไปที่มักทำงานเฉพาะตอนที่เราเปิดใช้เท่านั้น ซึ่งการวาง Widget ไว้บนหน้าจอ Home Screen มาก ๆ จะกินทรัพยากรเครื่องเยอะและส่งผลให้เครื่องทำงานได้ช้าลง เพราะฉะนั้นจึงควรเลือกใช้ Widget ให้เหมาะสมกับสเปคของเครื่อง และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
8. เลี่ยงการใช้ Live Wallpaper
Live Wallpaper หรือภาพพื้นหลังแบบเคลื่อนไหวได้นั้น เป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ใช้แอนดรอยด์จำนวนมาก เนื่องจากมันดูสวยงามและเพิ่มความหรูหราให้กับอุปกรณ์แอนดรอยด์ได้ดีเลยทีเดียว แต่ในทางกลับกัน Live Wallpaper ก็เป็นฟีเจอร์หนึ่งที่กินทรัพยากรเครื่องและแบตเตอรี่ไม่ใช่น้อยเช่นกัน ซึ่งหากเรารู้สึกว่าเครื่องทำงานช้า อยากให้ทำงานเร็วขึ้น หรือแบตเตอรี่ใช้นานขึ้น ก็ควรเลี่ยงไปใช้ภาพพื้นหลังแบบปกติแทน
9. ใช้ระบบ Auto Sync เท่าที่จำเป็น
ระบบ Auto Sync ของแอนดรอยด์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ๆ เนื่องจากมันสามารถเชื่อมต่อกับเซิฟเวอร์ของกูเกิลเพื่อคอยรายงานแจ้งเตือนการอัพเดทต่าง ๆ ให้เราทราบทันทีได้ตลอดเวลา เช่น ได้รับอีเมลใหม่, ได้รับข้อความใหม่, อัพเดทแอพฯ เวอร์ชั่นใหม่ ฯลฯ แต่มันก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะเครื่องจะทำงานตลอดเวลาเพื่อเชื่อมต่อรับข้อมูลอัพเดทเป็นระยะ ๆ ซึ่งหากเราใช้งานแอพฯ อื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันก็อาจทำให้เครื่องทำงานช้าลงได้ รวมทั้งยังกินแบตเตอรี่มากขึ้นอีกด้วย
10. ปิดการใช้อินเทอร์เฟซแบบเคลื่อนไหว
อินเทอร์เฟซแบบเคลื่อนไหว (Animation) คือการเคลื่อนไหวของอินเทอร์เฟซเวลาที่เราใช้นิ้วลากหรือเลื่อนเมนูหรือแถบต่าง ๆ บนหน้าจอ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่กินทรัพยากรเครื่องไม่ใช่น้อยเลย โดยถ้าเราปิดฟีเจอร์นี้ เวลาที่เราลากนิ้วไปมาจะไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ บนหน้าจอ แต่ภาพจะตัดไปที่เมนูหรือหน้าจออื่น ๆ ทันทีเลย ถึงแม้จะดูไม่ค่อยสวยงามสักเท่าไหร่ แต่มันก็ทำให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้นพอสมควรเลย
11. ใช้แอพฯ ประเภท Task Killer
แอพฯ ประเภท Task Killer หรือ Task Manager นั้นมีความสามารถในการปิดแอพฯ ที่เปิดทำงานทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น ซึ่งสามารถตั้งเป็นแบบอัติโนมัติได้ด้วย ถือเป็นแอพฯ ที่มีประโยชน์และควรมีติดเครื่องไว้มาก ๆ เลยทีเดียว
12. เลือกใช้แอพฯ ที่มีขนาดเล็ก
แอพฯ ประเภทเดียวกัน อาจมีขนาดที่ไม่เท่ากันก็ได้ บางแอพฯ อาจมีขนาดเล็ก แต่บางแอพฯ ก็อาจมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งแอพฯ ที่มีขนาดใหญ่จะส่งผลให้กินทรัพยากรเครื่อง โดยเฉพาะแรม ในขณะใช้งานมากกว่าแอพฯ ที่มีขนาดเล็ก เพราะฉะนั้นเราจึงควรเลือกใช้แอพฯ ที่มีขนาดเล็กกว่าในกรณีที่แอพฯ มีคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกัน และควรเลือกใช้แอพฯ ที่มีฟีเจอร์เท่าที่เราต้องการใช้ก็พอ ไม่จำเป็นต้องใช้แอพฯ ขนาดใหญ่ที่มีฟีเจอร์มากเกินไปทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ใช้
ด้วยคำแนะนำทั้ง 12 ข้อนี้ จะช่วยอุปกรณ์แอนดรอยด์ของท่านสามารถทำงานได้รวดเร็วและราบรื่นมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยล่ะ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับชาวแอนดรอยด์ทั้งหลายไม่มากก็น้อยนะครับ ^_^
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559
สุดยอดแอพ Android สำหรับเครื่องที่่ root แล้ว
หนึ่งประโยชน์ในการ Root เครื่อง Android ก็คือความสามารถในการใช้งาน App พิเศษพวกนี้ … หลังจาก Root Samsung Galaxy SIIIหรือ มือถือ Android ของคุณได้แล้ว เราไปเล่น App พวกนี้กัน
1.ROM manager: ”ฟรี”: ถ้าเสียเงินก็สามารถโหลด Custom ROM ได้จากใน App โดยตรง
สาเหตุหลักๆเลยที่คนเค้า Root มือถือ Android กันก็เพราะเค้าอยากจะใช้ Custom ROM , Custom ROM ก็คือ Android OS ที่ไม่ใช่ตัวดั้งเดิมที่ Google แจกนั่นเอง, เนื่องจาก Android OS เองนั้นฟรี นักพัฒนาทั้งหลายก็สามารถโหลด Source code เพื่อมาแก้ไข ปรับปรุง พัตนาให้มันทำงานเร็วขึ้น หน้าตาสวยขึ้น ใช้งานได้ง่ายใช้ ใช้งาน Hardware ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วก็เอามาแจก(หรือขาย)กัน เมื่อเรา Root เครื่องเราแล้ว เราก็สามารถโหลด Custom ROM พวกนั้นมาแล้วทำการ Flash ROM ลงที่เครื่องเราได้ … ROM manager เป็น App ที่รวบรวมเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการ backup/Flash ROM และ รวบรวม Custom ROM ต่างๆมาไว้ใน App เดียวกัน
ปล.1… Custom ROM แต่ละอันไม่สามารถลงได้ในมือถือทุกรุ่นทุกยี่ห้อน่ะ … ก่อนจะลงก็อ่านให้ดีก่อนว่า Custom ROM อันนี้ใช้งานกับเครื่องเราได้รึเปล่า
ปล.2… Android OS ที่มากับเครื่องมือถือแต่ละบริษัทก็เป็น Custom ROM น่ะ เช่น Samsung SIII ก็ใช้ตัว Ice cream Sandwich ตัวดั้งเดิมและแก้ไขเพิ่มเติมแล้วก็เรียกว่า TouchWiz 5, HTC ก็แก้ไขแล้วก็เรียกว่า HTC Sense, … จะมีแต่เฉพาะมือถือหรือ Tablet ที่ Google ออกขายเองเท่านั้นที่ใช้ Android ตัวดั้งเดิม (เช่น Nexus One, Galaxy Nexus, Nexus 7) … ดังนั้นเวลาที่ Google ออก Android ตัวใหม่ออกมา มือถือค่ายต่างๆจึงไม่สามารถเอา Android ตัวนั้นมาใช้ในมือถือตัวเองได้เลย ต้องไปแก้ไขเพิ่มเติมก่อน…บางทีก็ช้าจน … Custom ROM จากทีมนักพัฒนาอิสระ ออกมาให้เล่นก่อน
2.Titanium Backup: ”ฟรี”: ถ้าเสียเงินก็สามารถหยุดการทำงานและลบ App ที่ติดมากับเครื่องได้
ตามชื่อเลย Titanium back สามารถ back up ได้ทุกอย่าง ทั้ง App ที่เราลง, ทั้ง Setting ที่เรา Set ไว้ใน OS (Google Account, ค่าอื่นๆใน Setting)หรือ App ใดๆ, ทั้งข้อมูลใน App นั้น … เมื่อ Backup แล้ว เราสามารถ factory reset แล้วก็ใช้ Titanium backup ทำการ restore ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมได้เป๊ะๆ หรือจะ Restore เฉพาะ Setting หรือ จะ Restore เฉพาะบาง App ก็ได้ … ที่เหนือกว่านั้นในเวอร์ชั่นเสียเงินก็คือ เราสามารถหยุดการทำงาน(Freeze) หรือ ลบ(uninstall) App ที่ติดมากับเครื่องได้
3.SetCPU:
ต้องการ Overclock , SetCPU ทำได้, ต้องการ Underclock , SetCPU ก็ทำได้ และ SetCPU ทำได้มากกว่านั้นคือสามารถปรับความเร็ว CPU ได้ตามสถานการณ์ เช่น เปิด App พวกนี้ให้ CPU ทำงานเร็วกว่าปกติ … ถ้าเหลือแบตเตอรี่แค่นี้ให้ CPU ทำงานช้ากว่าปกติ
4.AdFree: ”ฟรี”:
App ฟรีทั้งหลาย มักจะมาพร้อมกับ Ads (โฆษณา) … บางทีก็เกะกะตาเหลือเกิน อยากกำจัด Ads พวกนั้นไหมครับ? … ใช่แล้ว AdFree ทำหน้าที่อย่างเดียวให้คุณได้เท่านั้น นั่นคือ กำจัด Ads ในทุก App ที่เรามีอยู่ … ทำอย่างเดียวแต่ทำได้เจ๋งมาก
5.Market Unlocker: “ฟรี”:
App ที่เราโหลดได้นั้นจะจำกัดอยู่ในเฉพาะประเทศที่เราอยู่เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ที่อเมริกาจะมี App หลากหลายที่มีประโยชน์ แต่เราไม่สามารถโหลดได้ …. App นี้จะทำการหลอก Google play store ว่า เราอยู่ในอเมริกาหรือที่อื่นตามที่เราเลือก และสามารถโหลด App พวกนั้นมาได้ … ก่อนหน้านี้มี App ที่ทำหน้าที่นี้อยู่ใน Google play store ชื่อว่า Android Market Enabler แต่ว่าตอนนี้ Google ได้ลบ App นี้ออกไปจาก Play store แล้ว แต่!!!จำได้ไหมว่าเรามี App store ทางเลือกอยู่ Appมีชื่อว่า Market Unlocker ตามไปโหลดได้ที่ App Store ทางเลือกเลย
เป็นสุดยอด explorer app สำหรับเครื่องที่ Root แล้วโดยเฉพาะ สามารถ unzip สามารถ unRar ได้, สามารถลบ App ดังเดิมที่ฝังมากับ ROM ได้…
เป็น App ที่สร้างการใช้งานแบบอัตโนมัติ สามารถใช้สร้างการทำงานหลายๆอย่างต่อกัน สามารถใช้สร้างการทำงานตามสถานการณ์(event) ตามวันเวลา(Date/Time) ตามเซนเซอร์(Sensor) ตามปุ่มที่เรากด ตามสถานที่(Location) ได้ … อ่านแล้วยังนึกไม่ออกว่ามันทำอะไรได้? ตัวอย่างเช่น
- ให้มือถือเราเปิด GPS หรือ Wifi อัตโนมัติเฉพาะเวลาเราเข้า App ใดๆได้ … เพื่อเป็นการประหยัดแบตเตอรี่ หรือเพื่อความปลอดภัยที่จะไม่แสดงตำแหน่งเราตลอดเวลา
- เมื่อโทรศัพท์ดัง สามารถทำให้มันเงียบได้โดยการคว่ำโทรศัพท์ , หรือจะให้เพลงที่เราเปิดอยู่เงียบเวลาเราคว่ำมือถือก็ได้
ตัว Tasker เองนั้นไม่ได้ต้องการการ Root แต่อย่างใด แต่ถ้าเราต้องการใช้งานอย่างเต็มที่ บางฟังค์ชั่นจำเป็นต้องทำการ Root มาก่อน
อ้างอิง
http://lifehacker.com/5806135/the-10-best-android-apps-that-make-rooting-your-phone-worth-the-hassle
7 Best Android Root Apps for Rooted Android Phone
There are a great number of Android users root their devices as soon as after purchasing the device even if they don’t realise the full benefits of rooting.
On this article we plan on helping you get the best out of your device by downloading the top most popular android root apps.let’s checkout the 7 Must Have Rooted Android Apps to get the most out of your rooted android device.
1. TITANIUM BACKUP
This one is an absolute must for every root user. It can perform a very large number of functions though its primary goal is to backup your apps and store them locally or online (Dropbox, Drive etc.). The latest versions have been greatly improved in terms of usability and interface and added lots of functions. Among these worth mentioning are the ability to convert user apps to system, integrate system apps updates into ROM to save storage space, clean the dalvik cache and much, much more.
2. SUPERUSER – SUPERSU – SUPERUSER (CLOCKWORKMOD)
For a long time we only had one option in terms of Superuser apps – the one that grants root rights for those apps require it. Now we have three. No matter which you choose I personally recommend the one from ClockworkMod. It offers all the features for free that the other two provide by purchasing the Pro versions. Plus it has a great interface and is very intuitive in terms of usage. Still you can’t go wrong with either. Plus the one byClockworkMod is OPEN SOURCE (https://github.com/koush/Superuser).SuperSU has also gained increased popularity.
3. ROM MANAGER
Another app that is considered a MUST for every root user. It can perform just about any advanced task you can think of. From flashing the latest recovery to performing regular and scheduled backups this software is a real asset. The most important part is that it can install your favorite custom roms either from local storage or download and install them from online. The Premium version includes even more functions – making the list practically endless.
4. BUSYBOX INSTALLER
Required by many root apps, including the ones mentioned above, BusyBox helps root users achieve advanced tasks through the root apps they use. This BusyBox installer has a great interface and poses no problems for achieving your goal. For those not familiar with BusyBox. BusyBox is something that you install on your Droid to give you some additional handy LINUX / UNIX based commands. You need Busy Box installed because some commands are not available to you and you made need them for some root level tasks.”
5. GREENIFY *ROOT: RENEW MY PHONE
Most of you may have noticed that the more apps you install on you device in time it can become slow and starts misbehaving. This app puts the apps that take lots of resources or you don’t use regularly into hibernation. Once you need them you can restore right away. Upon using this app you will immediately notice a difference in how your device reacts and that in a positive way. Plus you don’t need to access Greenify to lauch the hibernated apps. You can do it the regular way – straight from the app drawer.
6. ROOT EXPLORER
With Root Explorer you can easily access the files on your device as well as the system files which normally doesn’t show up with file manager on android devices. Root Explorer is really comes handy when you want to change system file permission or manually want to push apks or other files on the system partition. There are now many other file explorer app to access root level files but Root Explorer is the most popular though you have to pay for it.
If you are not willing to pay then try ES File Explorer File Manager (Free).
7. ADAWAY
If you are annoyed with those ads you see while using free apps then Adaway will rescue you. This is another great reason why you should root your android device. With root privilege Adaway will block ads showing up by modifying your host file of your android device.
The Best Apps for Rooted Android mentioned above will surely boost the capability of your rooted android device. Let us know your favorite root apps for android by mentioning them in the comments section below.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)